เกี่ยวกับเรา
CU Blood เป็นโครงการเพื่อรณรงค์ให้นิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า บุคลากรและคณาจารย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันไปบริจาคโลหิตกับสภากาชาดไทย
โครงการเลือดสีชมพู CUB0157 / CU Blood
เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นโดยสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้นิสิต นิสิตเก่า คณาจารย์ และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมการบริจาคโลหิต เป็นการปลูกฝังจิตสํานึกสาธารณะและสร้างความสามัคคีในหมู่นิสิต นิสิตเก่า คณาจารย์ และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์
เป็นการปลูกฝังจิตสํานึกสาธารณะและสร้างความสามัคคี ในหมู่นิสิต นิสิตเก่า คณาจารย ์และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณ โลหิตสํารองของสภากาชาดไทยด้วย อีกทั้งโครงการยังมีเป้าหมายที่จะปลูกฝังลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น มีคุณธรรม คิดเป็น ทำเป็น มีภาวะผู้นำ มีสุขภาวะ และมีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
จุดเริ่มต้น
การบริจาคโลหิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 เมื่อนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมใจกันบริจาคโลหิตให้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย ทําให้ในปีต่อมานิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดสัปดาห์บริจาคโลหิตขึ้นอีกครั้ง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
พ.ศ. 2530
เกิดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทําให้นิสิตจํานวนมากเกิดความหวาดวิตกว่าอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการใช้เข็ม จึงทําให้จํานวนผู้บริจาคโลหิตลดลงเป็นอย่างมาก
พ.ศ. 2556
เนื่องในโอกาสที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ครบรอบ 100 ปีจึงได้มีการรื้อฟื้นกิจกรรมบริจาคโลหิตขึ้นใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในชื่อกิจกรรม
"บริจาคโลหิต 1 ล้านซีซีในโอกาสครบรอบวิศวฯจุฬาฯ 100 ปี"
โดยในปีแรกกําหนดให้ผู้เข้าร่วมมีเพียงนิสิตปัจจุบัน และนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น ต่อมาจึงได้ขยายไปยังนิสิต นิสิตเก่า คณาจารย์และบุคลากรของทุกคณะหรือ หน่วยงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความร่วมแรงร่วมใจและการสนับสนุน จากทุกภาคส่วนทําให้เกิดโครงการ
"เลือดชมพู CUB0157 หรือ CU Blood"
ตราสัญลักษณ์
logo
ตราสัญลักษณ์ประกอบไปด้วยริบบิ้นที่สื่อถึงการดำเนินงานของโครงการด้านการกุศล สีแดงสื่อถึงความรักและโลหิต โดยเกลียวพันเป็นรูปหยดเลือด รวมแล้วหมายถึงหน้าที่หรือพันธกิจหลักของโครงการในการรับบริจาคโลหิต ภายใต้ริบบิ้นที่เกลียวพันปรากฎชื่อโครงการภาษาอังกฤษ “CU Blood” ที่ประกอบขึ้นจากคำสองคำ คือ CU ที่เป็นตัวย่อของ Chulalongkorn University และ Blood ที่หมายความว่า โลหิต รวมแล้วหมายถึง โครงการบริจาคโลหิตที่เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของ นิสิต นิสิตเก่า คณาจารย์ และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะส่งมอบสุขภาพที่ดีให้แด่คนไทย
มาสคอต
mascot
น้องหยดเลือดเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกของโครงการ CU Blood ได้ดำเนินการสำรวจว่า เหตุใดหลายคนจึงรู้สึกกลัวการบริจาคโลหิต ทำให้ทราบว่า ภาพของเข็มและโลหิตส่งผลต่อความรู้สึกดังกล่าว ดังนั้นน้องหยดเลือดจึงเป็นสัญลักษณ์ของความสดใส ความรัก มิตรภาพ และความสุขที่จะส่งไปยังผู้บริจาคทุกคน ให้รับรู้ถึงพลังที่ยิ่งใหญ่ของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และการเสียสละโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน

EXECUTIVE BOARD
คณะกรรมการอำนวยการโครงการ

กล้าเกิด ตรีวัฒนสุวรรณ
ประธานโครงการ
กรศรา ศรีศรากร
รองประธานโครงการ
ธีรภัทร วิรเศรณี
รองประธานโครงการ
กิตติพศ วชิรปราการสกุล
เลขานุการโครงการ
คณิสร เข็มทอง
เลขานุการโครงการ
จิตตพิศุทธิ์ กรรณวัฒน์
เลขานุการโครงการ
ภคพงษ์ สังขปรีชา
เลขานุการโครงการ
วิชชา ทยานุวัฒน์
การเงินและเหรัญญิกโครงการ
ปุณณมา สุตันติวณิชย์กุล
การเงินและเหรัญญิกโครงการ
อัครวินท์ ศิริสวัสดิ์
การเงินและเหรัญญิกโครงการ
อธิพงศ์ กงจักร์
การเงินและเหรัญญิกโครงการ
ธนกร เจริญพูนสิริ
ประธานฝ่ายกิจกรรม
ศุภวรรณ เพชรรัตน์
ประธานฝ่ายปฏิคม
ณัชพล สุภัทรวณิช
ประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ชาติโยธิน ชินสกุล
ประธานฝ่ายทะเบียน
อันติมา อังคณานนท์
ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์

Copyright © 2024 CU Blood Project

Chulalongkorn University — Developed by Thinc 6th Generation