CHARACTERISTIC AND CRITERIA
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1
อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์ผู้ที่มีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
2
ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55 ปี – 60 ปี ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์และ พยาบาล
3
ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 60 ปี – 70 ปี แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกตามอายุ 2 ช่วง ดังนี้
3.1 : การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 60 จนถึง 65 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)
1.1 : เป็นผู้บริจาคโลหิตประจํามาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี
1.2 : บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง คือทุก 4 เดือน
1.3 : ตรวจ Complete Blood Count (CBC),Serum Ferritin (SF) ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประกอบการให้คําปรึกษาด้านสุขภาพทั่วไป และสําหรับแพทย์ใช้ผลการตรวจ SF ในการติดตามและปรับการให้ธาตุเหล็กทดแทน
3.2 : ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 65 ปี จนถึง 70 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)
2.1 : เป็นผู้บริจาคโลหิตต่อเนื่องสม่ำเสมอในช่วงอายุ มากกว่า 60 ปี จนถึง 65 ปี
2.2 : บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน
2.3 : ต้องได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยแพทย์ หรือพยาบาลของธนาคารเลือดหรือหน่วยงานรับบริจาคโลหิตซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต
2.4 : ตรวจ CBC และ SF ปีละ 1 ครั้ง
2.4 : ทั้งสองช่วงอายุให้ดูผล hemoglobin จาก CBC ที่เจาะในวันเดียวกันกับที่จะบริจาคโลหิต หรือจากการเจาะปลายนิ้ว ถ้าอยู่ในเกณฑ์กำหนดอนุญาตให้บริจาคโลหิตได้
2.4 : สำหรับผลการตรวจอื่น ๆ ที่ไม่ได้ผลทันที ให้เก็บไว้ประกอบการให้คำปรึกษาหลังจากการบริจาคโลหิตครั้งนี้ ในโอกาสที่มาบริจาคโลหิตครั้งต่อไป หรือแจ้งผลโดยวิธีอื่น ๆ ตามความเหมาะสมผู้บริจาคโลหิตในช่วงอายุ 60 ปี ถึง 70 ปี ที่บริจาคโลหิตไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดบริจาคทิ้งช่วงเกิน 1 ปี ให้เจาะเลือดตรวจตามที่ระบุไว้และนัดให้ผู้บริจาคมาฟังผลเพื่อพิจารณาการรับบริจาคโลหิตภายใน 1-2 สัปดาห์ และต้องเจาะเลือดจากปลายนิ้วตรวจฮีโมโกลบินซ้ำตามขั้นตอนการรับบริจาคโลหิต ในวันที่บริจาคโลหิต
2.4 : ผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปีจนถึง 60 ปี ที่ต้องการบริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์/พยาบาล ไม่ควรรับบริจาคโลหิตจากผู้ที่อายุเกิน 60 ปี ในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่
4
น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัม ขึ้นไป
5
สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคโลหิต
6
นอนหลับพักผ่อนเพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต
7
ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคตับ โรคปอด โรคเลือด โรคมะเร็ง หรือมีภาวะโลหิตออกง่ายและหยุดยาก
8
ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา
9
สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือน ที่ผ่านมา
10
น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ
11
หากรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดอื่น ๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่น ๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน
12
ไม่เป็นโรคหอบหืด ผิวหนังเรื้อรัง วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่น ๆ
13
ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ตับ ไต มะเร็ง ไทรอยด์โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ
14
หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน กรณีผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลจะหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ
15
หากเคยได้รับการ ผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน ส่วนผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 7 วัน
16
ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
17
ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี
18
หากเจาะหู สัก ลบรอยสัก หรือฝังเข็มในการรักษา โดยใช้เครื่องมือร่วมกัน หรือในสถานที่ที่มีคุณภาพความสะอาดต่ำที่อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิต ควรงดบริจาคอย่างน้อย 1 ปี แต่หากกระทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาดปราศจากเชื้อโดยผู้ชำนาญ และเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัว เว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบหายสนิทอย่างน้อย 7 วัน
19
หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี
20
หากมีประวัติเป็นมาลาเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้
21
หากเคยเจ็บป่วยจนต้องรับโลหิตของผู้อื่นที่ประเทศอังกฤษ ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2539 งดรับบริจาคโลหิตถาวร
22
หากเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษรวมระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2539 หรือเคยพำนักในยุโรปรวมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523-ปัจจุบัน งดรับบริจาคโลหิตถาวร
23
หากเคยได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรค หรือเคยรับเซรุ่ม ระยะเวลาที่งดรับบริจาคโลหิตขึ้นกับชนิดขอบวัคซีน หรือเซรุ่ม
24
สตรีอยู่ระหว่างมีรอบเดือน ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ถ้าขณะนั้นสุขภาพแข็งแรง มีโลหิตประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลียใด ๆ ตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่าน ก็สามารถบริจาคโลหิตได้
25
ก่อนบริจาคโลหิต ควรงดอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่าง ๆ เป็นต้น
PROCEDURES
ขั้นตอนการบริจาคโลหิตกับโครงการ
1
ลงทะเบียนบริจาคโลหิตล่วงหน้าที่เว็บไซต์ของโครงการในช่วง 1 สัปดาห์ ก่อนหน้าสัปดาห์บริจาคโลหิต
2
ผู้บริจาคโลหิตที่ได้ลงทะเบียนบริจาคโลหิตล่วงหน้าไว้ สามารถยืนยันการลงทะเบียนเข้าร่วมการบริจาคโลหิตที่จุดลงทะเบียนใต้อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือชั้น 1 ของ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในสัปดาห์บริจาคโลหิต
3
หากผู้บริจาคโลหิตไม่ได้ลงทะเบียนบริจาคโลหิตล่วงหน้า ให้ทำการกรอกข้อมูลลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิตแบบ Walk-in ที่จุดลงทะเบียนใต้อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในสัปดาห์บริจาคโลหิต
4
ผู้บริจาคโลหิตรับ “ใบสมัครผู้บริจาคโลหิต” และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง
5
สำหรับผู้บริจาคโลหิตที่อยู่ใต้อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถใช้บริการรถรับ-ส่งที่โครงการได้จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อเดินทางไปยังศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
6
ผู้บริจาคโลหิตเดินทางถึงศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และทำการตรวจวัดความดันโลหิต
7
นำใบที่แสดงผลการตรวจวัดความดันติดเข้าที่มุมของใบสมัครผู้บริจาคโลหิต แล้วนำไปยื่นที่เคาเตอร์ลงทะเบียนของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
8
กดบัตรคิวเพื่อรอตรวจวัดความเข้มโลหิตและสอบถามประวัติเพิ่มเติม
9
ผู้บริจาคโลหิตตรวจความเข้มโลหิต และสอบถามประวัติเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยสุขภาพเบื้องต้น
10
เดินขึ้นไปที่ชั้น 2 ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย แล้วกดบัตรคิวเพื่อรอการบริจาคโลหิต
11
บริจาคโลหิต ที่ห้องรับบริจาคโลหิต
12
เมื่อบริจาคโลหิตเสร็จแล้ว ให้พักรับประทานอาหารว่างหรือเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อปรับสภาพน้ำในร่างกาย เมื่อปกติดีแล้วจึงเดินไปที่จุดลงทะเบียนของโครงการ CU BLOOD ณ ชั้น 1 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
13
ผู้บริจาคโลหิตยืนยันการบริจาคโลหิตอีกครั้ง และรับของที่ระลึกจากโครงการ
PRE-POST DONATION PROCEDURES
การเตรียมตัวก่อน-หลังบริจาคโลหิต
การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
1
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตามเวลานอนปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
2
สุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะใด ๆ เช่น ยาแก้อักเสบ แต่หยุดยาแล้วอย่างน้อย 7 วัน
3
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง ภายใน 6 ชั่วโมง ก่อนมาบริจาคโลหิต เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เป็นต้น เพราะจะทำให้พลาสมามีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้
4
ดื่มน้ำก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ซึ่งเท่ากับปริมาณโลหิตที่เสียไปในการบริจาค ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น และช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้
5
งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
6
งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
การเตรียมตัวขณะบริจาคโลหิต
1
สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
2
เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
3
ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
4
ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
5
หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นอนพักบนเตียง 5-10 นาที ก่อนจึงลุกจากเตียง อาจมีอาการเวียนศีรษะเป็นลมได้ ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
หลังบริจาคโลหิต
1
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการ และนั่งพักอย่างน้อย 15 นาที
2
ให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
3
ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
4
หลีกเลี่ยงการขึ้นลงลิฟท์ บันไดเลื่อน อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
5
ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
6
หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมาก ๆ ไม่ใช้กำลังแขนที่เจาะบริจาค เช่น ยกของหนัก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการบริจาคโลหิต
7
ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาทิ การเดินซื้อของ อยู่ในบริเวณที่แออัดหรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
8
ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน หลังจากบริจาคโลหิต
9
ให้รับประทานอาหารตามปกติ ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยโลหิตที่บริจาค
10
รับประทานธาตุเหล็กวันละ 1 เม็ด จนหมด ชดเชยธาตุเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคโลหิต และป้องกันการขาดธาตุเหล็ก เพื่อให้สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ การรับประทานธาตุเหล็กบำรุงโลหิต พร้อมกับเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูง เช่น น้ำส้ม น้ำฝรั่ง หรือน้ำมะเขือเทศ จะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี ยกเว้นชาเขียว เพราะจะไปขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 ต่อ 1101, 1760, 1761
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Copyright © 2023 CU Blood Project
Chulalongkorn University — Developed by Thinc 6th Generation